วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ชื่ออย่างเป็นทางการของแม่น้ำโขงหรือแม่น้ำของ


แม่น้ำโขง ณ ริมตลิ่งเมืองหนองคาย
นำโขง ถ้าเป้นคนที่อยู่ใกล้น้ำโขงจริงๆ จะเรียกว่าน้ำของ เช่น อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่หลวงพระบาง เลย เวียงจันทน์ หนองคาย นครพนม บริคำไชย บึงกาฬ มุกดาหาร สะหวันนะเขต อำนาจเจริญ อัตตะปือ อุบลราชธานี เรียกเหมือนกันหมดว่า แม่น้ำของ แต่ว่าไม่ได้อยู่ติดน้ำของ อยู่ไกลจากน้ำของ ก็จะได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยก็เรียนน้ำโขง 

บันทึกทางประวัติศาสตร์ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก็กล่าวถึงอาณาเขตด้านทิศเหนือ ติดกับเมือง ลุมบาจาย สระคา ท้าวฝั่งของ"  ท้าวฝั่งของ หมายถึงท้าวพระยาที่ปกครองในลุ่มแม่น้ำโขง
แสดงว่าชื่อนี้อย่างน้อยก็เรียกมาแล้วมากกว่าเจ็ดร้อยปี 

แต่บันทึกทางประวัติศาสตร์เมื่อห้าร้อยปีก่อนก็เรียกน้ำของเหมือนกัน และมีชื่ออย่างเป็นทางการด้วย 
ชื่อแบบภาษาชาวบ้านเรียก แม่น้ำของ   แม่น้ำของตั้งแต่หนองแส ประเทศจีนเรื่อยจนถึงเมืองศรีโคตม์บูร เรียกว่า ทะนะนะทีเทวา หรือ ธนะนทีเทวา  (แม่น้ำมีเทวดาด้วย มีสมบัติด้วย หรือ แม่น้ำอันมีทรัพย์มากและมีเทวดารักษา)  ปรากฏในหน้า 5 ของตำนานอุรังคธาตุ ฉบับอาจารย์อุดร จันทวัน  แต่อาจารย์บอกว่า ต้นฉบับเขียนว่า  ทะนะมะณีเทวา  ผู้เขียนเห็นว่า ต้นฉบับก็อาจจะเขียนถูกต้องแล้ว เพราะเราเมื่อเราพูดถึงแม่น้ำ ในหลายแห่งเราก็ขี้เกียจเขียนคำว่าแม่น้ำอีก เขียนเฉพาะคำคุณศัทพ์ของแม่น้ำ
ธะนะมะณีเทวา (แม่น้ำ) มีเทวดาด้วย(รักษา) มีแก้วมะณีด้วย และมีสมบัติ(ทรัพย์)ด้วย  เพราะสมัยโบราณเมืองโบราณเมื่อห้าร้อยปีก่อน มรีเหมืองแก้ว และเหมืองทองด้วย อย่างเมืองนครพนมในอดีตก็มีเหมืองทองคำอยู่ริมตลิ่งน้ำของ หลายจุดเหมือนกัน

จะเรียก ธนะนทีเทวา  จะเรียก ธนะมณีเทวา  ก็ตามใจเถิด  แต่ให้รู้ว่า ชื่ออย่างเป็นทางการของแม่น้ำโขงเมื่อห้าร้อยปีก่อน เรียกชื่อที่กล่าวมา  

แม่น้ำโขงหรือน้ำของ ตั้งแต่เมืองศรีโคตม์บูรลงไปจนถึงประเทศกำพูชา เรียกว่า "แม่น้ำหลี่ผี"  ตามอุรังคนิทานหน้า  6  ดังข้อความนี้ "  ทะนะมุนละนาค  ผู้อาศัยอยู่เมืองศรีโคตบอง ก็ควัดฮ่องจากนั้นลงไป ฮอดเมืองอินทะปัตถะนคร จนฮอดแม่น้ำสมุทร ฮ่องนี้เอิ้นว่า น้ำหลี่ผี นั้นแล"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น